อยากป้องกันไม่ให้เป็นแผลคีลอยด์ ต้องทำอะไรบ้าง?

อยากป้องกันไม่ให้เป็นแผลคีลอยด์

Table of Contents

แผลเป็นนั้นคือร่องรอยที่หลงเหลือจากบาดแผลในอดีต บางครั้งแผลเป็นก็มีขนาดเล็กจนไม่มีใครสังเกต แต่บางทีแผลเป็นก็มีขนาดใหญ่และเด่นชัดมาก ๆ เหมือนกัน แผลคีลอยด์ (Keloid Scar) คือแผลเป็นชนิดหนึ่งที่มีลักษณะโดดเด่น มีความนูนขึ้นมาจากผิวและยังมีสีที่เข้มชัดเจน อาจสร้างความไม่สบายใจให้กับใครหลาย ๆ คน

ไม่ว่าใครก็ตามที่เคยหรือไม่เคยมีแผลคีลอยด์บนร่างกายก็อาจจะอยากรู้ว่าแผลคีลอยด์นี้สามารถป้องกันได้จริงไหมนะ? แล้วมีวิธีการป้องกันได้อย่างไรบ้าง? วันนี้เราจึงขอรวบรวมข้อปฏิบัติง่าย ๆ ที่จะสามารถลดโอกาสการเกิดแผลคีลอยด์ในอนาคตสำหรับทุกคน

แผลคีลอยด์ คืออะไร

แผลคีลอยด์ คืออะไร

แผลคีลอยด์ (Keloid Scar) คือแผลเป็นชนิดหนึ่งที่แตกต่างจากแผลเป็นชนิดทั่วไปอื่น ๆ คือ มีลักษณะนูนสูงขึ้นมาจากผิวหนังและสามารถขยายตัวออกนอกบริเวณแผลเดิมจึงมีขนาดที่ใหญ่เป็นพิเศษ โดยถ้าหากปล่อยทิ้งไว้จะยังสามารถขยายตัวได้เรื่อย ๆ นอกจากนี้เองยังสามารถทำให้รู้สึกคัน ระคายเคือง หรือเจ็บแปลบ ๆ ที่บริเวณแผลได้เช่นกัน

สาเหตุของการเกิดแผลคีลอยด์

ก่อนที่จะเข้าใจแนวทางการป้องกันการเปิดแผลคีลอยด์ล่วงหน้า ควรทำความเข้าใจก่อนถึงสาเหตุของการเกิดแผลชนิดคีลอยด์ สาเหตุหลักของการเกิดแผลคีลอยด์คือการทำงานที่ผิดปกติไปของกระบวนการซ่อมแซมบาดแผล (Wound Healing) โดยปกติแล้วกระบวนการนี้จะมีขั้นตอนการทำงานด้วยกัน 3 ขั้นตอนตามลำดับดังนี้ ขั้นตอนการหยุดเลือด (Hemostasis Phase), ขั้นตอนการอักเสบ (Inflammatory Phase), กลไกการสร้างเนื้อเยื่อทดแทน (Proliferative Phase), และ กลไกการปรับสมดุลโครงสร้างของแผล (Remodelling Phase) โดยต้นเหตุของคีลอยด์คือความผิดปกติของขั้นตอนที่ 3 หรือกลไกการสร้างเนื้อเยื่อทดแทนที่ร่างกายสร้างเนื้อเยื่อและสะสมคอลลาเจนมากจนเกินไป จึงทำให้ผิวหนังบริเวณแผลเป็นมีลักษณะบวมนูนและขยายใหญ่ขึ้นมานั่นเอง

บทความแนะนำ : แผลเป็นคีลอยด์รักษาได้จริงไหม? รวบรวมทุกวิธีการรักษาคีลอยด์ ตั้งแต่การทายาไปจนถึงการฉีด

ลักษณะและอาการของคีลอยด์

เพื่อที่จะเตรียมการป้องกันและรักษาแผลคีลอยด์ สามารถสังเกตแผลได้ด้วยวิธีดังนี้ว่าเป็นแผลคีลอยด์หรือไม่

  • เป็นแผลที่มีลักษณะนูนขึ้นมาเหนือผิวหนัง
  • อยู่ที่บริเวณใบหู ติ่งหู หัวไหล่ หน้าอก
  • มีอาการระคายเคือง เจ็บแปลบ ๆ หรือคัน

ปัจจัยที่อาจส่งผลให้เกิดแผลคีลอยด์

ปัจจัยที่อาจส่งผลให้เกิดแผลคีลอยด์

ใครที่เป็นบุคคลดังกล่าวอาจมีแนวโน้มการเกิดคีลอยด์มากกว่าคนอื่น ๆ ดังนั้นควรที่จะให้ความสนใจกับการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการเกิดแผลคีลอยด์เป็นพิเศษ

  • บุคคลเชื้อชาติเอเชีย หรือแอฟริกา ที่มีสีผิวเข้ม
  • บุคคลที่ครอบครัวมักเป็นแผลคีลอยด์ง่าย
  • บุคคลที่เคยมีคีลอยด์ตั้งแต่วัยเด็ก
  • ถ้าหากมีแผลที่บริเวณหู หัวไหล่ หน้าอก หลัง (ส่วนบน) แผลเหล่านั้นจะมีความเสี่ยงเป็นคีลอยด์มากเป็นพิเศษ

สามารถป้องกันการเกิดคีลอยด์ได้อย่างไรบ้าง

สามารถป้องกันการเกิดคีลอยด์ได้อย่างไรบ้าง

ถึงแม้ปัจจุบันจะมีแนวทางการรักษาคีลอยด์ที่มากมาย ตั้งแต่การทายา ไปจนถึงการผ่าตัดออก อย่างไรก็ตามการป้องกันไม่ให้เกิดแผลคีลอยด์ตั้งแต่ต้นจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดเนื่องจากแผลคีลอยด์ในบางกรณีจะรักษาหรือกำจัดได้ยากกว่ากรณีทั่วไป และอาจนำมาสู่ค่ารักษาที่สูงเช่นกัน

โดยสามารถป้องกันได้ด้วยการหลีกเลี่ยงการเกิดแผลและการดูแลแผลอย่างถูกวิธีเพื่อป้องกันการทำงานผิดปกติของกระบวนการซ่อมแซมบาดแผล ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

  • การรักษาความสะอาด ควรทำความสะอาดด้วยน้ำเกลือ
  • การป้องกันการติดเชื้อและอักเสบ ควรปิดแผลด้วยผ้าก๊อซ ควรซับแผลให้แห้งและไม่ชื้น
  • งดสัมผัสแผล งดเกา งดแกะแผล เพราะอาจรบกวนกระบวนการซ่อมแซมบาดแผลได้
  • การดูแลแผลหลังแผลแห้ง แนะนำให้ใช้เจลซิลิโคน (Silicone Gel) เพิ่มหลังบาดแผลแห้งดีแล้ว
  • การรับประทานอาหาร ลดการรับประทานอาหารประเภทน้ำตาล แอลกอฮอล์ คาเฟอีน ไนเตรด เช่น เนื้อแดง

สามารถรักษาให้หายได้ไหม

กรณีที่เริ่มพบแผลคีลอยด์บนร่างกายแล้ว สามารถใช้แนวทางการรักษาได้ โดยแนะนำให้เข้าพบแพทย์เพื่อปรึกษาและประเมินวิธีการรักษาแผลคีลอยด์ที่เหมาะสมกับลักษณะของแผลมากเพื่อการันตีผลลัพธ์ที่ชัดเจนและน่าพึงพอใจมากที่สุด

รวมวิธีการรักษาคีลอยด์

รักษาคีลอยด์ด้วยการฉีดยาสเตียรอยด์

แพทย์จะฉีดยาสเตียรอยด์ที่บริเวณแผลโดยตรงเพื่อลดอาการเจ็บ อาการอักเสบ และให้ผิวยุบลง ทั้งนี้การฉีดยาเพื่อรักษาคีลอยด์จำเป็นต้องฉีดซ้ำเพื่อให้เห็นผลที่ชัดเจนโดยจำนวนการฉีดจะขึ้นอยู่กับขนาดและลักษณะของแผล

รักษาคีลอยด์ด้วยการเลเซอร์

เพราะการเลเซอร์เป็นแนวทางที่มีความปลอดภัยจึงทำให้ได้รับความนิยมเช่นเดียวกับการฉีดสเตียรอยด์ โดยจะยิงเลเซอร์คลื่นพลังงานสูงเพื่อกำจัดเนื้อเยื่อส่วนเกินออกไป ทั้งนี้อาจต้องมีการเลเซอร์ซ้ำขึ้นอยู่กับแผล

รักษาคีลอยด์ด้วยผ้ายืดที่ตัดเพื่อกดรัดบาดแผล

ในกรณีที่แผลมีลักษณะนูนสูงขึ้นมามาก หรือมีลักษณะที่การฉีดยาหรือเลเซอร์ไม่เพียงพอต่อการรักษา จะเหมาะสมกับการผ่าตัด โดยจะเป็นการตัดแผลออกบางส่วนหรือทั้งหมด

รักษาคีลอยด์ด้วยผ้ายืดที่ตัดเพื่อกดรัดบาดแผล

หลังจากที่ได้รับการผ่าตัดในระยะแรก สามารถใช้ Pressure Garment Therapy หรือ ผ้ายืดที่ตัดเพื่อกดรัดบาดแผล เพื่อป้องกันไม่ให้แผลนูนซ้ำหลังการผ่าตัดได้เช่นกัน

สรุปอยากป้องกันไม่ให้เป็นแผลคีลอยด์ ต้องทำอะไรบ้าง?

แผลคีลอยด์คือแผลที่เกิดจากการทำงานผิดปกติของกระบวนการซ่อมแซมบาดแผลที่ผลิตเนื้อเยื่อและสะสมเส้นใยคอลลาเจนมากกว่าปกติ ดังนั้น วิธีการป้องกันคีลอยด์คือการดูแลบาดแผลที่เกิดขึ้นบนร่างกายเพื่อเลี่ยงอาการอักเสบซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการทำงานผิดปกติของกระบวนการซ่อมแซมบาดแผล ด้วยวิธีการทำแผลที่ถูกต้อง รักษาความสะอาด ไม่สัมผัสแผล และการดูแลแผลหลังแห้งด้วยเจลซิลิโคน

ปรึกษาหมอฟรี กังนัมคลินิก 40 สาขาใกล้บ้าน

Scroll to Top
gangnamclinicthailand