แผลเป็นคีลอยด์รักษาได้จริงไหม? รวบรวมทุกวิธีการรักษาคีลอยด์ ตั้งแต่การทายาไปจนถึงการฉีด

แผลเป็นคีลอยด์รักษาได้จริงไหม? รวบรวมทุกวิธีการรักษาคีลอยด์ ตั้งแต่การทายาไปจนถึงการฉีด

Table of Contents

แผลเป็นคีลอยด์ เป็นแผลที่มีลักษณะโดดเด่น ดึงดูดสายตา มากกว่าแผลเป็นชนิดอื่น ๆ แต่ยังเป็นแผลเป็นที่รักษายากเป็นพิเศษด้วยเช่นกัน โดยนอกจากแผลคีลอยด์จะสร้างความเจ็บที่บริเวณผิวหนังแล้ว ยังสร้างความไม่สบายใจให้กับหลาย ๆ คนอีกเช่นกัน

หลายคนรู้สึกถอดใจกับการรักษาคีลอยด์เพราะทายาเท่าไหร่ก็ไม่หาย และอาจคิดว่าแผลคีลอยด์นี้คงจะเป็นแผลที่จะติดตัวไปตลอดเหมือนรอยสักซะแล้ว แต่ความจริงแล้วปัจจุบันมีแนวทางการรักษาคีลอยด์ที่หลากหลายมากมาย โดยในบทความนี้เราได้รวบรวมแนวทางการรักษาหรือกำจัดเจ้าแผลคีลอยด์กวนใจตัวนี้ไว้อย่างครบถ้วนแล้ว!

คีลอยด์ คืออะไร

แผลคีลอยด์ หรือ Keloid Scar คือแผลเป็นลักษณะเป็นก้อนเนื้องอกที่มีความนูนขึ้นมาจากผิวหนังและขยายตัวออกมาใหญ่ขึ้นกว่าแผลเดิม ถึงแม้จะมีลักษณะที่ใหญ่โตและน่ารำคาญใจ แต่ความจริงแล้วแผลคีลอยด์ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย โดยจะมีผลข้างเคียงของอาการคัน ระคายเคือง เท่านั้น

คีลอยด์มีอาการเป็นอย่างไร

คีลอยด์มีอาการเป็นอย่างไร

คีลอยด์สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วไปกับหลาย ๆ คน โดยมีวิธีการสังเกตแผลคีลอยด์ที่หลากหลาย ดังนี้

  • มีลักษณะนูนขึ้นจากผิวหนัง และมันเงา ไม่มีขนขึ้นที่บริเวณแผล
  • มีขนาดที่แตกต่างออกไปขึ้นอยู่กับแต่ละคน โดยสามารถมีขนาดเล็กราวเม็ดถั่วและมีขนาดใหญ่เท่าลูกมะนาวได้เช่นกัน
  • แผลขยายตัวใหญ่ขึ้นเมื่อขาดการรักษา
  • แผลเปลี่ยนจากสีแดงหรือชมพูในช่วงแรก เป็นสีน้ำตาล หรือสีสามารถซีดจางลงได้
  • แผลอยู่บนบริเวณหลัง หัวไหล่ หน้าอก ใบหู เป็นต้น

สาเหตุของการเกิดแผลคีลอยด์

สาเหตุของการเกิดแผลคีลอยด์มาจากการทำงานที่ผิดปกติของกระบวนการซ่อมแซมบาดแผลเมื่อมีการสร้างคอลลาเจนและเนื้อเยื่อที่มากเกินไป จึงนำไปสู่ลักษณะของแผลที่ขยายใหญ่ออกมามากกว่าขนาดเดิมของแผลและมีลักษณะที่นูนขึ้นมาจากผิวหนังนั่นเอง ถึงแม้จะยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของความผิดปกติของกระบวนการซ่อมแซมบาดแผลอย่างแน่ชัด แต่แผลคีลอยด์มักจะพบได้บ่อยในบุคคล 2 กลุ่มดังนี้

  • ผู้ที่มีสีผิวเข้ม เช่น บุคคลเชื้อชาติเอเชียหรือแอฟริกา
  • ผู้ที่มีประวัติทางพันธุกรรมเป็นแผลคีลอยด์ง่าย

สามารถป้องกันได้อย่างไรบ้าง

สามารถป้องกันได้อย่างไรบ้าง

อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว หลายคนอาจจะสงสัยว่า ถ้าหากแผลคีลอยด์มีต้นเหตุมาจากพันธุกรรม จะมีวิธีป้องกันล่วงหน้าไม่ให้เกิดแผลคีลอยด์ในอนาคตได้ไหม โดยคำตอบคือการดูแลบาดแผลที่เกิดจะขึ้นอย่างถูกวิธีนั่นเอง วิธีการดูแลแผลเพื่อป้องกันการเปิดแผลคีลอยด์มีดังนี้

  • รักษาความสะอาด ทำความสะอาดแผลด้วยน้ำเกลือ ระมัดระวังการสัมผัสสิ่งสกปรก
  • เช็ดให้แผลแห้ง ไม่ควรปล่อยให้บริเวณแผลมีความชื้นหรือเปียก ควรเช็ดให้แห้งเสมอ
  • งดสัมผัสแผล ไม่สัมผัสบริเวณแผลบ่อย ๆ ไม่แกะ ไม่เกา
  • ทายาเพื่อรักษาแผล แนะนำให้ทาเจลซิลิโคน (Silicone Gel) เมื่อแผลแห้งดีแล้ว

สามารถรักษาคีลอยด์ให้หายได้จริงไหม

สำหรับใครที่รู้สึกขาดความมั่นใจ หรือรำคาญใจต่อแผลคีลอยด์ ขอให้สบายใจได้เลยเพราะแผลคีลอยด์มีวิธีรักษาให้หายได้จริงที่หลากหลาย และที่สำคัญไม่มีผลข้างเคียงอื่น ๆ ต่อระบบร่างกายที่อาจเกิดขึ้น ทั้งนี้ควรเข้าพบปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการประเมินแนวทางการรักษาที่เหมาะสมที่สุดของแต่ละคน

รักษาคีลอยด์ด้วยตัวเองได้ไหม

วิธีการรักษาคีลอยด์ที่หลาย ๆ คนอาจจะนึกถึงและถามถึงก่อนเป็นอย่างแรก ๆ คือการรักษาที่บ้านด้วยตัวเอง โดยในกรณีที่คีลอยด์ยังอยู่ในระยะแรก ๆ และยังมีลักษณะการนูนที่ยังไม่มากเกินไป การใช้เจลซิลิโคน (Silicone Gel) จะเป็นวิธีการที่สามารถรักษาได้จริง แนะนำเป็นเจลซิลิโคนชนิดแผ่นที่สามารถนำมาแปะทับบริเวณแผลได้เพื่อป้องกันไม่ให้เซลล์ผิวหนังขยายตัวเพิ่ม (แปะเป็นเวลา 12 ชั่วโมงต่อวัน) โดยสามารถหาซื้อเจลซิลิโคนได้ที่ร้านขายยาทั่วไป

รวม 4 วิธีการรักษาคีลอยด์

รวม 4 วิธีการรักษาคีลอยด์

สำหรับท่านที่มีแผลคีลอยด์ขนาดใหญ่ที่เจลซิลิโคนอาจไม่เพียงพอต่อการรักษาแผล สามารถเลือกแนวทางการรักษาได้ 3 แนวทาง ดังนี้

รักษาคีลอยด์ด้วยการฉีดยา ฉีดกี่ครั้ง

การฉีดยาสเตียรอยด์ (Intralesional Corticosteroid Injection) เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในการรักษาคีลอยด์ โดยแพทย์จะฉีดยาเข้าที่บริเวณแผล เพื่อลดอาการเจ็บ อาการอักเสบ และให้ผิวนุ่มและยุบลง อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องมีการมาฉีดยาซ้ำ จำนวนครั้งขึ้นอยู่กับรายบุคคล (มากสุด 4 ครั้ง) โดยเว้นห่างครั้งละ 4-6 สัปดาห์เพื่อให้แผลยุบตัว

รักษาคีลอยด์ด้วยการเลเซอร์

วิธีถัดมาคือการเลเซอร์คีลอยด์ ถือว่ามีความปลอดภัยจึงทำให้เป็นอีกแนวทางการรักษาที่ได้รับความนิยม โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะยิงเลเซอร์คลื่นพลังงานสูงเพื่อกำจัดเนื้อเยื่อส่วนเกินออก และอาจต้องมีการเลเซอร์ซ้ำขึ้นอยู่กับขนาดของแผลคีลอยด์

รักษาคีลอยด์ด้วยผ้ายืดที่ตัดเพื่อกดรัดบาดแผล

สำหรับแผลที่มีเนื้อนูนออกมาเยอะ หรือแผลคีรอยด์บริเวณหู ที่การเลเซอร์หรือการฉีดสเตียรอยด์อาจให้ผลลัพธ์ที่ไม่ดีพอ การผ่าตัดจะยังเป็นอีกทางเลือกเพื่อตัดแผลออกบางส่วนหรือผ่าตัดออกทั้งหมดได้

รักษาคีลอยด์ด้วยผ้ายืดที่ตัดเพื่อกดรัดบาดแผล

หลังจากที่ได้รับการผ่าตัดในระยะแรก คนไข้มักจะมีการใช้ผ้ายืดที่ตัดเพื่อกดรัดบาดแผล (Pressure Garment Therapy) เข้ามาช่วยเพื่อป้องกันไม่ให้แผลนูนซ้ำ

รักษาคีลอยด์ที่ไหนได้บ้าง

อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการรักษาคีลอยด์คือการเลือกพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและสถานพยาบาลที่เหมาะสม โดยควรคำนึงถึงปัจจัยดังต่อไปนี้

  • โรงพยาบาลหรือคลินิกที่ได้มาตรฐาน มีความน่าเชื่อถือ และมีใบประกอบกิจการที่ถูกต้อง
  • โรงพยาบาลหรือคลินิกที่ใส่ใจ ให้คำแนะนำ และมีการนัดพบเพื่อติดตามผลการรักษา
  • โรงพยาบาลหรือคลินิกที่คนไข้สามารถเดินทางได้สะดวก
  • โรงพยาบาลหรือคลินิกที่มีแนวทางการรักษาที่หลากหลายเพื่อเป็นตัวเลือกให้กับคนไข้

สรุปแผลเป็นคีลอยด์รักษาได้จริงไหม? รวบรวมทุกวิธีการรักษาคีลอยด์ ตั้งแต่การทายาไปจนถึงการฉีด

คีลอยด์เป็นแผลเป็นที่เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของกระบวนการซ่อมแซมบาดแผล โดยสามารถเริ่มจากการใช้เจลซิลิโคนในระยะแรกของการเกิดคีลอยด์เพื่อรักษาแผล และสามารถเข้ารับการรักษากับแพทย์ได้ผ่านหลากหลายวิธีการ อาทิเช่น การฉีดยา การเลเซอร์ หรือการผ่าตัด เป็นต้น อย่างไรก็ตามสามารถป้องกันไม่ให้เกิดแผลคีลอยด์ตั้งแต่แรกด้วยวิธีการดูแลบาดแผลเบื้องต้น อย่างเช่นการรักษาความสะอาด หรือการลดการสัมผัสกับบาดแผล

ปรึกษาหมอฟรี กังนัมคลินิก 40 สาขาใกล้บ้าน

Scroll to Top
gangnamclinicthailand